วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระวังภัยจาก “โรคความดันต่ำ”

ระวังภัยจาก “โรคความดันต่ำ”

คนทั่วไปส่วนใหญ่ต่างก็เป็นกังวลกับ โรคความดันโลหิตสูง เสียจนละเลย โรคความดันต่ำ… ซึ่งก็มีความอันตรายไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่นัก อาจเป็นเพราะผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำจะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ เพราะอาการที่แสดงออกมาจะไม่ค่อยชัดเจน


เช่น เกิดอาการอ่อนเพลีย หน้ามืดตาลายบ่อย ๆ ง่วงนอนทั้งที่ก็นอนเต็มที่หลังอาหารเที่ยงก็มักจะง่วงนอนสลึมสะลือ นั่งทำงานไปสัปหงกไป บางรายหนาวสั่นทั้ง ๆ ที่อุณหภูมิภายในห้องก็เป็นปกติ เวลาไปตรวจสุขภาพก็ไม่พบความผิดปกติ ต้องตรวจวัดความดันโลหิตอย่างละเอียดเท่านั้น


โดยผู้ป่วยวัยกลางคนที่เป็นโรคความดันต่ำจะต้องมีความดันโลหิตที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) และในผู้สูงอายุจะต้องต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) ถึงจะเข้าข่ายเป็นโรคความดันต่ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยสูงอายุและผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้


แล้วโรคความดันต่ำที่ว่ามันมีกี่ชนิดกันล่ะ


มี 2 ชนิดครับ แบ่งเป็น แบบเฉียบพลันกับแบบเรื้อรัง


1. โรคความดันโลหิตต่ำแบบเฉียบพลัน คือ ภาวะความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืดและช็อคหมดสติ มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นลมหรือหัวใจล้มเหลว


2. โรคความดันโลหิตต่ำแบบเรื้อรัง สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ตามสาเหตุที่เกิดขึ้น ได้ดังนี้


- ความดันโลหิตต่ำที่เป็นมาแต่กำเนิด


โดยส่วนใหญ่เกิดจากกรรมพันธุ์ หรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการร้ายแรงให้เห็น อาจแสดงเพียงแค่อาหารหน้ามืดเป็นลมจากอากาศร้อน


- ความดันโลหิตต่ำที่เกิดมาจากการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว


บางทีการเปลี่ยนท่าจากการนั่งนาน ๆ แล้วลุกขึ้นยืนทันที หรือยืนอยู่กับที่เป็นเวลานาน ก็ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนเกิดอาการวูบได้


- ความดันโลหิตต่ำจากโรคประจำตัวอื่น ๆ หรือจากการใช้ยา เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ มะเร็ง ตับอักเสบ วัณโรค โรคหัวใจรูมาติก ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้ยาลดความดันเพื่อให้ความดันโลหิตลดลงโดยใช้ยาเกินขนาด จะส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็วและลดต่ำลงมากยิ่งขึ้น จะเห็นผลได้ชัดเจนหลังจากปัสสาวะถูกขับออก ความดันภายในช่องท้องลดลงต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจลดน้อยลงด้วยจึงเกิดอาการหน้ามืดและเป็นลมคาห้องน้ำ


ดังที่กล่าวมา หากท่านพบความผิดปกติทางร่างกายดังที่กล่าวมา ก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจและป้องกันรักษาต่อไปนะครับ…



credits: Dietza.com โรคที่มากับความอ้วน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น